Thursday, July 30, 2009

10 อันดับ ภาพจากอวกาศที่ได้รับความนิยมมากที่สุดปี 2008

ภาพจากอวกาศ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ในรอบปี 2008 โดย National Geographic จำนวน 10 ภาพ


อันดับที่ 10 : Supernova SN 1006 แสดงอนุภาคพลังสูง



เป็นการสำรวจ SN 1006 supernova มีตำแหน่งห่างจากโลก 7,000 ปีแสง โดย Hubble Space Telescope ร่วมกับ Chandra -CTIO - VLA/GBT Observations แสดงภาพระยะใกล้ ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงอนุภาค พลังงานในระดับสูง (High energies) ของ Supernova shockwaves มีลักษณะแสงคล้าย ริบบิ้นแผ่ยาวและกรรโชกออกมา ด้วยคลื่นระเบิดจากการไหลท่วม ของก๊าซไฮโดรเจน ความเร็วราว 6-10 ล้านกิโลเมตร/ชั่วโมง มีความร้อนสูงมาก


อันดับที่ 9 : ดาวเคราะห์ โคจรรอบ HR 8799 ดวงอาทิตย์



HR 8799 มีฐานะเป็นดาว Host star (ดวงอาทิตย์ระบบสุริยะอื่น) มีตำแหน่งห่างจากโลกประมาณ 130 ปีแสง สามารถมองจากโลกได้ ด้วยกล้อง ฺBinoculars ความสุกสว่างระดับ 5.96 Magnitude ขนาดมวลใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ 1.5 เท่า

มีบริวารเป็นดาวเคราะห์ 3 ดวงโคจรอยู่โดยรอบ คือ HR 8799 b - HR 8799 cและ HR 8799 d ทั้งหมดมีวงโคจรห่างจาก Host star 68 AU - 38 AU - 24 AU ตามลำดับ และดาวเคราะห์แต่ละดวงใช้เวลาโคจร รอบโดย Host star ตนเองประมาณ 465.7 ปี - 189 ปี – 100 ปี ตามลำดับ ได้สำรวจพบเมื่อ ปี ค.ศ. 2008

นับเป็นภาพดาว HR 8799 ภาพแรกทีมีดาวเคราะห์ (จุดเล็กด้านเหนือ)โคจรอยู่รอบ Host star ในระบบสุริยะของตน ชัดเจนที่สุดเท่าที่เคยมี โดยถ่ายจากพื้นโลกที่หอสังเกตการณ์ GeminiObservatory ด้วยกล้อง Infrared technology บนเกาะฮาวาย

จากการวิเคราะห์ มีความเป็นไปได้ ดาวเคราะห์เล็กๆ ที่เห็นมีขนาดใหญ่กว่าดาวพฤหัส 8 เท่า อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อโต้แย้งกันว่า เป็นดาวเคราะห์หรือไม่ เนื่องจากยังมีข้อมูลน้อยเกินไป โดยยังไม่ทราบถึง แรงดึงดูดระหว่างกันอย่างแท้จริงอาจจะเป็น เพียงดาวทั่วไปก็ได้ ซึ่งขณะนี้ยังจ้องมีข้อมูลสนับสนุนเพิ่มเติม


อันดับที่ 8 : กิจกรรมหลุมดำยักษ์ ระยะใกล้ ใจกลางทางช้างเผือก



Sagittarius A* (หรือเรียก A-star) เป็นตำแหน่งมีความเป็นปึกแผ่นของ Radio emission (การเปล่งรังสีช่วงคลื่นวิทยุ) บริเวณจากใจกลาง Milky Way Galaxy ด้วยลักษณะพิเศษ ดังกล่าว จึงพิจารณาได้ว่า มีความสัมพันธ์กับ หลุมดำยักษ์ (Supermassive black hole) ที่จุดศูนย์กลางของ Milky Way Galaxy

ฉะนั้น Sagittarius A* จึงเป็นการเกี่ยวข้องกับ หลุมดำยักษ์ ซึ่งไม่ใช่หลุมดำแต่เป็นการสำรวจ การฟุ้งกระจายของ คลื่นพลังงานจากก๊าซ และกลุ่มหมอกร้อนที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 1 ล้านองศา เป็นแหล่งคลื่นวิทยุ (Radio source ) ท่วมล้นออกมาจากหลุมดำยักษ์ เพราะตัวหลุมดำเองไม่สามรถเปล่งแสงออกมาได้ แต่ในอนาคตอาจมีเทคนิคถ่ายภาพ หลุมดำโดยตรงได้

ดัง นั้นจึงเป็นภาพ กิจกรรมการแสดง หลุมดำมวลยักษ์ มีการทำงานส่งผลออกมา ภายนอกในบริเวณใกล้เคียง โดยมีการหมุนม้วนกันเหมือนเส้มผมพันกัน เชื่อว่ามีความ กว้าง 4,506 กิโลเมตร มีมวลมากกว่า ดวงอาทิตย์ 2-4 ล้านเท่า์

เป็นการถ่ายภาพระยะไกลจากพื้นโลก ด้วยกล้อง Radio telescopes จากการเล็งกล้อง 3 จุดบนโลก พร้อมๆกัน คือจาก Hawaii – Arizona และ California ไปยัง เป้าหมายตำแหน่ง Sagittarius A* (A-star) บริเวณใจกลาง Milky Wayจึงได้ภาพดังกล่าว


อันดับที่ 7 : สภาพเตรียมหมดอายุขัยของ Supernova SN 1006



เมื่อ 1,000 ปีมาแล้ว Supernova SN 1006 ถูกสำรวจพบ และมีการบันทึกไว้ในปูม ของนักดาราศาสตร์ชาว China – Japan – Europe และ Arab โดยในครั้งนั้นมีความสุกสว่างเท่ากับ ดาวศุกร์ เห็นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ เหมือนพุลแตก (Fire-works display) บนท้องฟ้า โดยปราศจากความเข้าใจว่าเป็นปรากฎการณ์สิ่งใด

วันนี้ นักดาราศาสตร์ ทราบว่า Supernova SN 1006 มีสาเหตุจาก White dwarf star (ดาวแคระขาว) ที่ไม่เสถียรและระเบิดออกมา เป็นการปลดเปลื้องธาตุของตนเอง เช่น Iron อย่างเร่งด่วนจากภายใน เพราะว่าไม่มีวัตถุดิบเพียงพอ โดยหลังจากนี้ไปการเข้าสู่ พัฒนาการเป็น Neutron star หรือ Black hole (หลุมดำ) อย่างสมบูรณ์แบบต่อไป

ภาพการระเบิด SN 1006 supernova remnant มีตำแหน่งห่างจากโลก 7,000 ปีแสง ในหมู่ดาว Lupus (หมาป่า) ใช้เทคนิคการถ่ายประกอบด้วย X-ray data จาก NASA's Chandra X-ray Observatory (สีน้ำเงิน) Optical data จาก The University of Michigan's 0.9 meter Curtis Schmidt telescope at the NSF's Cerro Tololo Inter-American Observatory (CTIO; สีเหลือง) และ Digitized Sky Survey (สีส้ม และแสงสีน้ำเงิน) ร่วมกับRadio data จาก NRAO's Very Large Array และ Green Bank Telescope (VLA/GBT; สีแดง) โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 61 ชั่วโมง รวม 11 จุด


อันดับที่ 6 : แหล่งกำเนิดดาว นอกเขต Southern Pinwheel galaxy



Southern Pinwheel (M 83 หรือ NGC 5236) จัดอยู่ในประเภท Spiral galaxies สามารถมองจากโลกด้วยกล้อง Telescopes ตำแหน่งในหมู่ดาว Hydra (งูไฮดรา) มีความสุกสว่างระดับ 7.6 Magnitude โดยสำรวจพบมากว่า 250 ปีแล้ว มีระยะทางห่างจากโลก 15 ล้านปีแสง

ภาพใหม่นี้ ทำให้เห็น Embryonic stars (การฟักตัวของดาว) เป็นจุดที่ความสุกสว่างตรงกลาง ในวงแขน (สีแดง) วนอยู่รอบๆกาแล็คซี่ นัยเป็นลักษณะรูปแบบ Absolutely stunning (ที่น่ามหัศจรรย์) ไม่ต้องพึงพาสิ่งใดเหตุเพราะ มีตำแหน่งของตนนอกเขตกาแล็คซี จึงขาดแคลนวัตถุดิบ ต่อการก่อตัวในระบบของดาว (Star formation)


อันดับที่ 5 : ร่องรอยถูกชน อย่างน่าตกใจ บน ดวงจันทร์ Phobos



ดาวอังคาร มีดวงจันทร์ โคจรเป็นบริวาร 2 ดวงคือ Phobos และ Deimos มีขนาดเล็กทั้งคู่ สำหรับดวงจันทร์ Phobos นักดาราศาสตร์ตั้งฉายาว่า Doomed moon (ดวง จันทร์เคราะห์ร้าย) เพราะมักจะมี ดาวเคราะห์น้อย จาก Main asteroid belt (ตำแหน่งระหว่าง ดาวอังคารกับดาวพฤหัส) พุ่งเข้าชนปะทะบ่อยครั้ง

ดวงจันทร์ Phobos มีขนาด 17x27 กิโลเมตรและวงโคจรใกล้ดาวอังคารมากเพียง 5,800 กิโลเมตร (ดวงจันทร์ของโลกโคจรห่าง 400,000 กิโลเมตร) ดังนั้นราวอีก 100 ล้านปี ดวงจันทร์ Phobos อาจเริ่มไม่เสถียรจากการถูกชนปะทะ และถูกแรงดึงดูด พุ่งเข้าหาดาวอังคารเอง หรือ ถูกชนปะทะจนเหลือเพียงชิ้นเล็กชิ้นน้อยลงไปเรื่อยๆ ท้ายที่สุดเหลือ แต่เศษซากโคจรรอบ ดาวอังคารเป็นวงแหวนหิน

ภาพที่เห็นความคมชัดสูง จึงมองเห็นข้อพิสูจน์จากการถูกชนปะทะจาก อุกกาบาต
หรือดาวเคราะห์น้อย เกิดหลุมบ่อมากมาย แสดงถึงการชนหนักและรุนแรงในแต่
ละครั้งอย่างน่ากลัวและน่าตกใจ


อันดับที่ 4 : รอยยับย่นของพายุก๊าซ บน ดาวพฤหัส



บน ดาวพฤหัสพื้นผิว เป็นแหล่งเกิดพายุขนาดใหญ่ มีพลังขนาดลมรุนแรง มากกว่า โลกหลายเท่าเพราะไม่มีสิ่งกีดขวาง เช่น ภูเขา ต้นไม้เหมือนโลกสภาพบรรยากาศ ประกอบด้วยก๊าซไฮโดรเจน ฮีเลียมหนาแน่น ยังมีส่วนประกอบของน้ำและก๊าซ แอมโมเนีย (Ammonia) จัดอยู่ใน กลุ่มดาวเคราะห์ ประเภท Jovian planets

การเปิดเผยรอยย่น แนวก๊าซของ ดาวพฤหัส ซึ่งเป็นพายุก๊าซ ถ่ายจากพื้นโลกด้วยกล้องขนาด 27-foot (8.2-meter) สั่งการด้วยคอมพิวเตอร์ จากหอสังเกตการณ์ ในประเทศ Chile ทำให้สามารถเห็นภาพรอยยับย่น ที่เล็กยาวราว 300 กม. บนดาวพฤหัสให้เห็นได้ชัดขึ้น

ภาพดังกล่าว ใช้เลนส์ซึ่งดัดแปลงให้ขจัดความเพี้ยน และบิดเบี้ยวจากแสงที่ผ่านเข้ามาในชั้นบรรยากาศโลก เรียกว่า MAD (for Multi-Conjugate Adaptive Optics Demonstrator) โดยระบบใช้การอ้างอิงเป้า ดาวมากกว่า 2 ดวง และสามารถขจัดความพร่ามัว มากกว่า 30 เท่า


อันดับที่ 3 : Gamma-ray burst น่าอัศจรรย์ เห็นจากโลกด้วยตาเปล่า



ปรากฎการณ์ของ Gamma-ray bursts มีช่วงอายุสั้น เพราะเป็นพลังงานจากแสง (Energetic form of light) อย่างน้อยมีส่วนเกี่ยวข้องกับ Supernovae บางประเภท เป็นการระเบิดจากช่วงเวลาดาวยักษ์ ได้หมดอายุขัยแล้ว ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษเฉพาะ จากการสำรวจพบเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วินาที หรือไม่กี่นาทีแต่มีความสว่างเป็นพันล้านเท่าของดวงอาทิตย์

นักวิทยาศาสตร์ ได้ตรวจสอบพบแสงกระพริบเป็นช่วงสั้นๆ ตำแหน่งบริเวณช่องว่างระหว่างดวงดาว (Interstellar) ด้วยตาเปล่า หลังจากนั้นจึงได้พยายามค้นหาปรากฎการณ์แปลกๆ ดังกล่าว

ในคืนต่อมา พบว่าเป็นการระเบิดอย่างเร็ว ขนาดยักษ์ (Massive gamma-ray burst) มีระยะทาง ห่างจากโลก ถึง 7.5 พันล้านปีแสง จากการใช้ NASA's Swift satellite ค้นหาด้วย X-Ray Telescope (left) - Optical/Ultraviolet Telescope (right) ทราบว่า แหล่งที่มาชื่อ GRB 080319B มีระยะครึ่งทางของจักรวาล โดยบริเวณดังกล่าวนั้น มนุษย์ไม่สามารถมองเห็น อะไรจากโลกได้เลย


อันดับที่ 2 : หิมะขนาดใหญ่ถล่มลงจากภูเขา บนดาวอังคาร



สภาพทั่วไปทางธรณี ดาวอังคารมีความหลายหลากเช่นเดียวกับโลก อดีตมีน้ำในปริมาตรมากซึ่งอาจมากกว่าบนโลกในปัจจุบันนี้ น้ำ และลมมีบทบาทที่สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพ โดยเป็นตัวนำสารประกอบบนพื้นผิวเข้ารวมกัน สนับสนุนจากการเกิดแผ่นดินไหว และดาวอังคารมีหิมะในฤดูหนาวเช่นเดียวกับโลก

ครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์ เห็นภาพหิมะถล่มกลิ้งเกิดขึ้นบน ดาวอังคาร จากแฟ้มภาพของยานสำรวจ HiRISE ซึ่งโคจรรอบดาวอังคารถ่ายไว้ได้ รู้สึกเป็นเรื่องสนุกสนานเหมือนเกิด ขึ้นเช่นเดียวกับที่สวิตเซอร์แลนด์

แต่หลังจากได้พิจราณาทบทวนดู จากภาพย้อนหลังไป พบว่ามีสถิตสูงมาก บางภาพเกิดขึ้น เมื่อปีที่แล้ว ความคมชัดสูงของภาพ ทำให้เห็นฤทธิ์เดชของคลื่นฝุ่นตลบ รอยเลื่อนของแผ่นดิน อย่างรุนแรง

ทำให้ทราบกลไกการเคลื่อนไหวบนดาวอังคาร ที่เราไม่เคยเห็นการเปลี่ยนแปลงนับมาล้านปี ภาพดังกล่าวเป็นหน้าผาสูงชัน 700 เมตร ลาดชัน 60 องศา ขอบหน้าผามีชั้นโดม ถูกทับถม ด้วย Carbon dioxide (สีน้ำตาลแดง) ตำแหน่งดังกล่าวเป็นขั้วด้านเหนือ กำลังย่างเข้าสู่ Spring (ฤดูหิมะละลาย) เป็นวัฐจักรบนดาวอังคาร


อันดับที่ 1 : พระจันทร์ยิ้ม



ภาพที่ทุกคนออกไปมองท้องฟ้าแล้วอดยิ้มไม่ได้ จนเรียกติดปากว่า พระจันทร์ยิ้มเกิดปรากฎการณ์เมื่อต้นเดือน ธันวาคม 2551 ทางดาราศาสตร์ เรียกว่า เป็นการ เกิด Planetary conjunction คือปรากฏการณ์มองเห็น วัตถุบนท้องฟ้าที่อยู่ห่างกันมาอยู่ใน ตำแหน่งใกล้กัน ดังเช่นครั้งนี้ ดาวศุกร์ ดาวพฤหัส และดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งใกล้กัน โดยจะเกิดขึ้นนานๆครั้ง

จัดอันดับเป็นภาพที่คนทั่วโลกดูมากที่สุด ทั้งที่เกิดขึ้นในปลายปี โดยแถบเอเชียจะเห็นเป็นลักษณะตำแหน่ง พระจันทร์ยิ้ม ชัดเจนกว่า ส่วนแถบ
อเมริกา หากถามผู้คนที่นั้นจะงงๆ แม้ตำแหน่งดาวเคราะห์ใกล้กันก็จริง จะมองยากกว่า




เครดิต - http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X8130416/X8130416.html

No comments:

Post a Comment